หลักการประเมิน

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เป็นการประเมินเชิงบวกที่ครอบคลุมการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐในทุกมิติ ตั้งแต่การบริหารงานของผู้บริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน ตลอดจนประเมิน “ระบบงาน” โดยเฉพาะกระบวนการเปิดเผยข้อมูล กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความโปร่งใส รวมถึงขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานและการให้บริการที่มีมาตรฐานและมีความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ตลอดจนมีคุณลักษณะที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล รวมไปจนถึงการประเมิน “วัฒนธรรม” ในหน่วยงานที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมวัฒนธรรมและค่านิยมสุจริต และประเมินแนวทางในการป้องกันการทุจริตและการป้องกัน การปฏิบัติงานที่อาจจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ตลอดจนประเมินผลการปฏิบัติงานในภาพรวมที่สะท้อน ได้จากการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญและสามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะที่ดีในการดำเนินงานที่มีคุณธรรม และมีธรรมาภิบาล ที่หน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พึงจะต้องมีและยึดถือปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

กรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) แบ่งออกเป็น 5 ดัชนี ดังนี้
(1) ดัชนีความโปร่งใส (Transparency Index)
(2) ดัชนีความพร้อมรับผิด (Accountability Index)
(3) ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption – Free Index)
(4) ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture Index)
(5) ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity Index)

ครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) มี 3 เครื่องมือ ได้แก่
(1) แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT) เป็นการประเมินจากระบบการดำเนินงานของหน่วยงาน
(2) แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) เป็นการสำรวจความคิดเห็น โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
(3) แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) เป็นการสำรวจความคิดเห็น โดยจะจัดเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน

คณะอนุกรรมการบริหารการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ 2 – 2/2559 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2559 มีมติให้ศูนย์ประเมินคุณธรรมและ ความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564 ให้สอดรับกับบริบทในปัจจุบัน โดยให้คณะทำงานวิชาการและพัฒนาระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ พิจารณารายละเอียด ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

จากนั้น ศูนย์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ จึงได้จัดทำแนวทาง การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564 นำเสนอต่อคณะทำงานวิชาการและพัฒนาระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 4 – 2/2560 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 ที่ประชุมได้ให้ข้อสังเกตว่า ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือในการประเมิน ตามทิศทางการพัฒนาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จึงควรใช้แนวทางการประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ไปก่อน แต่ขอให้มีการปรับปรุงคำถามในบางส่วนให้สอดรับกับการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และขอให้ปรับปรุงข้อความในข้อคำถามให้ชัดเจนและมีอำนาจจำแนกมากยิ่งขึ้น ส่วนแนวทางที่จะดำเนินการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 หากพัฒนาเครื่องมือและกรอบการประเมินแล้วเสร็จ ขอให้มีการทดสอบ เตรียมการ และชี้แจงหน่วยงานภาครัฐล่วงหน้าเพื่อให้มีเวลาเตรียมตัวและรับทราบแนวปฏิบัติให้เป็นไปตามทิศทางเดียวกัน สำหรับกรอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นั้น ศูนย์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ ได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการบริหารการประเมินคุณธรรมและ ความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในการประชุมครั้งที่ 1 – 1/2560 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ใช้แนวทางดังกล่าวแล้ว และให้นำเสนอรายละเอียดต่อคณะทำงานฯ เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป

อย่างไรก็ตาม จากข้อสังเกตของคณะอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ จึงนำข้อสังเกตดังกล่าว มาปรับปรุงกรอบแนวทาง ในการประเมินในบางประเด็น สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จะเป็น ปีสุดท้ายที่ยึดกรอบการประเมินและดัชนีการประเมินแบบเดิมตามที่ได้มีการประเมินมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จึงควรยกระดับข้อคำถามตามแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT) ภายใต้ประเด็นการประเมินเดิมให้เป็นข้อคำถามในลักษณะการเป็นมาตรการในเชิงระบบมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานมีการกำหนดระบบการปฏิบัติงาน ที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ซึ่งในประเด็นดังกล่าวสามารถต่อยอดไปสู่การยกระดับการรับรู้และสะท้อนภาพลักษณ์ของหน่วยงานตามการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียภายนอกได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และให้ตัดข้อคำถามที่ไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการซ้ำทุกปีออกไป เนื่องจากมีการวางระบบเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนแล้ว
2. ข้อคำถามตามแบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) และแบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment: EIT) มีการปรับปรุงโดยยึดวัตถุประสงค์ของการประเมินในแต่ละตัวชี้วัดเช่นเดิม แต่มีการลดข้อคำถามที่ผู้ตอบอาจไม่สามารถให้ข้อมูล ได้อย่างชัดเจนและเกิดภาระการตอบที่มากเกินไป รวมทั้งปรับปรุงข้อความให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
3. การเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง มีการปรับปรุงให้ผู้รับจ้างสำรวจข้อมูลมีบทบาทในการพิจารณา ความถูกต้องและเหมาะสมของกลุ่มตัวอย่างมากขึ้น โดยจะต้องมีการศึกษาภารกิจของหน่วยงานที่รับการประเมิน เพื่อกำหนดลักษณะกลุ่มตัวอย่าง ขนาดตัวอย่าง และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมและมีลักษณะความเป็นตัวแทนที่ดีมากยิ่งขึ้น

เกณฑ์การประเมินผล
เกณฑ์การประเมินผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ มีค่าคะแนนระหว่าง 0 – 100 คะแนน โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้


ช่วงคะแนน
(คะแนน)

เกณฑ์ระดับคุณธรรมและความโปร่งใส
ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

     80  –  100

สูงมาก

     60  –  79.99

สูง

     40  –  59.99

ปานกลาง

     20  –  39.99

ต่ำ

     0    –  19.99

ต่ำมาก

แหล่งที่มา : http://www.itamua.com/criterion61.html